--w

Матеріал з HistoryPedia
Перейти до: навігація, пошук

การที่ช่องคอตีบลง เนื่องจากกล้ามเนื้อคอมีการคลายตัวลง ทำให้เราต้องหายใจแรงขึ้น และเมื่อทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของอากาศที่ไหลผ่านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนเกิดการกระพือของเนื้อเยื่อภายในช่องทางเดินหายใจ เกิดเป็น การนอนกรน (Snoring)


อาการตีบแคบของเนื้อเยื่อบริเวณช่องคอนี้ อาจเกิดได้ไม่รุนแรงนัก หรือบางกรณีอาจรุนแรงจนอุดกั้นลมหายใจของเราทั้งหมด ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เป็นช่วงๆ ซึ่งเราเรียกลักษณะดังนี้ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) หรือที่นิยมเรียกง่ายๆ ในปัจจุบันว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง เช่น เป็นสาเหตุและความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน เพราะหลับใน หรือ อาจก่อให้เกิดความรำคาญอย่างมาก ต่อคู่ครอง เกิดเป็นปัญหาทางครอบตรัว ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอาย และเสียบุคลิกภาพได้


ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือการที่เด็กเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจทำให้การพัฒนาการมีความผิดปกติ ทั้งทางสติปัญญาและทางร่างกาย เด็กอาจซุกซนมากผิดปกติหรือก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง หรือมีปัญหาสังคมสำหรับเด็กได้ อาการหยุดหายใจตอนหลับนี้ คาดว่าพบปัญหานี้ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และอาจพบมากกว่านี้เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนภาวะนี้ในเด็กมักพบได้เพียงร้อยละ 1




อะไรคืออาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ


หากท่านสังเกตุเห็นว่ามีอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนภัย ว่าท่านเป็นโรคนอนกรนขั้นรุนแรง ซึ่งมีก่อให้เกิดผลร้ายกับสุขภาพอย่างมาก




  • ไม่สดชื่นตอนตื่นนอนตอนเช้า



  • ปวดศีรษะตอนตื่นนอน



  • นอนร่วมกับผู้อื่นไม่ได้เนื่องจากกรนดังมาก



  • นอนมากแต่เหมือนนอนไม่เต็มที่



  • หลับในตอนกลางวัน ฉุนเฉียวง่าย อารมณ์บึ้งตึง



  • รู้สึกหายใจไม่สะดวกเวลานอน



  • มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจไม่สม่ำเสมอ และกรนดังและหยุดเป็นช่วงๆ ระหว่างที่นอนหลับ



  • มีโรคประจำตัวอย่างอื่นด้วย เช่น โรคหัวใจ ความดันเลือดสูง




ในส่วนของการนอนกรนในเด็กนั้น อาจมี ปัญหานอนกรน คล้ายผู้มีอายุได้ หรือนอนหลับไม่ค่อยสนิท หายใจลำบาก หายใจทางปากบ่อยๆ เนื่องจากคัดจมูก อาจมีปัสสาวะรดที่นอนอยู่บ่อยๆ ก้าวร้าวซุกซน ผลการเรียนแย่ลง เติบโตช้ากว่าวัย เป็นต้น




การวินิจฉัยโรคนอนกรนมีขั้นตอนอะไรบ้าง


ถ้ามีอาการนอนกรนเป็นประจำ หรือสงสัยว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรนัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเป็นการด่วน หรือแพทย์ด้าน ENT (Ears Nose Throat) พร้อมกับคู่สมรส หรือผู้ที่พบเห็นอาการ โดยจะมีขั้นตอนต่อไปนี้




  • ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรทำกรอกสอบถามประวัติที่เกี่ยวกับสุขภาพและการนอน (Medical and sleep history) จากนั้นจึงเข้าพบแพทย์ เพื่อเล่าอาการเพิ่มเติม ในส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้อง



  • รับการตรวจร่างกาย วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักตัว ตรวจความดันโลหิตและตรวจวัดชีพจร วัดเส้นรอบวงคอ หรือขนาดรอบเอว หลังจากนั้น แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมบริเวณ ใบหน้า ศีรษะ จมูก คอ ช่องปาก อย่างละเอียด เพื่อตรวจวัดลักษณะของทางเดินหายใจส่วนต้น รวมถึงตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ปอด และหัวใจ หรือระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



  • ในบางกรณี แพทย์อาจส่องกล้อง (Endoscopy) เพื่อตรวจช่องจมูกและลำคอ ที่แผนกหู คอ จมูก และส่ง X-ray บริเวณศีรษะ ลำคอ หรือ การตรวจอื่นๆ เป็นพิเศษ อย่างเช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด และอื่นๆ หากจำเป็น



  • โดยส่วนมาก แพทย์มักจะให้ทำ การตรวจการนอนหลับ ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นการตรวจ คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การเคลื่อนไหวของลูกตา (EOG) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การวัดลักษณะการหายใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณคาง และขา (EMG) การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการวัดความเคลื่อนไหวของท้องและหน้าอก




ซึ่งการทำ sleep test นี้ สามารถตรวจในห้องโรงพยาบาลได้ หรือตรวจด้วยเครื่องตรวจแบบไร้สาย (mobile test) โดยมีเจ้าหน้าที่ไปตรวจตามห้องพิเศษ หรือที่บ้านก็ได้ ซึ่งมีความสะดวกสบาย และสามารถหลับได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตรวจมีหลายแบบ และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงควรปรึกษากับแพทย์ด้านการนอนหลับว่า ควรตรวจแบบไหนจึงจะเหมาะที่สุด




ตรวจนอนกรนที่ไหนดี?ข้อมูลดีๆ จาก http://www.nksleepcare.co.th





เป็นคำถามที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ อีกคำถามที่ตามมาด้วยเสมอคือ หลังจากตรวจแล้วควรรักษานอนกรนด้วยวิธีใด ซึ่งหลายๆ ท่านมักรู้สึกสับสน ซึ่งอาจเกิดจากมีข้อมูลมากมายให้เลือก หรือไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลได้จากไหน การรักษานอนกรนนั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ควรเริ่มด้วยการไปปรึกษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนกรนโดยเฉพาะ และที่สำคัญควรทำการตรวจการนอนหลับด้วยครับ ส่วนเรื่องจะไปตรวจที่ไหนนั้น ทางผู้เขียนได้รวบรวมรายชื่อมาให้แล้ว หวังว่าจะพอเป็นทางเลือกให้กับท่านได้ครับ




1) โรงพยาบาลเอกชน (ข้าราชการไม่สามารถเบิกได้)


รพ.กรุงเทพ ซ.ศูนย์วิจัย ถ. เพชรบุรี โทร. 02-310-3010, 02-310-3000 ต่อแผนก หู คอ จมูก


- ทุกวันอาทิตย์ 10.00 - 13.00 น.


รพ. ธนบุรี


- ทุกวันศุกร์ 17.00-19.00 น.


รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โทร. 1474


- ทุกวันอังคาร 14.00 - 15.00 น.


รพ.ตา หู คอ จมูก แผนกหูคอจมูก โทร. 02-886-6600-16


พี.เอ็ช.ซี. สหคลินิก (PHC Clinic)


61/19 ถ.พระราม 9 ซอย 7 (อ.ส.ม.ท.) เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310


Tel: 095-950-7956 หรือ 061-659-1788


รพ.เทพธารินทร์ คลินิคการนอนหลับ โทร. 0-2348-7000 ต่อ 3123, 4 วิธีแก้นอนกรน




2) โรงพยาบาลรัฐบาล (สามารถใช้สิทธิ์เบิกข้าราชการได้ทั้งค่าตรวจและเครื่อง CPAP)


ราคาจะถูกว่าตรวจในโรงพยาบาลเอกชน แต่คิวรอตรวจจะนานมาก เป็นเดือนๆ ก็มี ครับ ตัวอย่าง รพ. รัฐบาลที่มีบริการตรวจการนอนหลับและเครื่อง CPAP มีดังนี้


รพ.จุฬาลงกรณ์


คลินิกในเวลาราชการ (ท่านต้องมาด้วยตนเอง ไม่สามารถโทรนัดได้)


- วันจันทร์ - อังคาร (13.00-16.00) ศูนย์นิทราเวช ชั้น 5 อาคารผู้ป่วยในพิเศษ 14 ชั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


- วันพุธ (13:00 - 15:00) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10


คลินิกนอกเวลาราชการ (โทรนัดพบแพทย์ในคลินิกนอกเวลาได้ที่หมายเลข 02-256-5166, 02-256-5175)


- วันพุธ (16:30 - 19:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10


- วันเสาร์ (8:30 - 11:30) คลินิกนอนกรน แผนกหูคอจมูก ตึกผู้ป่วยนอก (ตึก ภ.ป.ร.) ชั้น 10


รพ. รามาธิบดี


- ศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี ชั้น 7 ward 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โทร. 02-200-3768




3) ตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test


การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) หรือการตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ (Out-of-center Sleep Testing; OCST) หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า การตรวจการนอนหลับแบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable monitoring of sleep; PMs) นั้นมีความหมายเทียบได้กับ การตรวจการนอนหลับโดยไม่มีคนเฝ้า (unattended sleep study) หรือ การตรวจการนอนหลับ Level 2-4 ตามที่กำหนดโดยสมาคมแพทย์โรคจากการหลับของสหรัฐอเมริกา


ในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถเบิกค่าตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ทำให้ในบัจจุบันการตรวจที่บ้านมีแนวโน้ม เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องด้วยการตรวจที่บ้านนี้มีราคาถูกกว่า และใช้กำลังคนไม่มาก นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยนอนกรนหรือมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้น


การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ




3.1) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 2 (Level 2)


เป็นการตรวจการนอนหลับแบบมาตรฐาน (Full Polysomnography) เนื่องจากสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ขณะที่นอนหลับได้ เป็นเครื่องขนาดกระทัดรัด พกพาได้ ผู้ป่วยสามารถลุกเดินไปใหนก็ได้ตามอิสระ เช่นเข้าห้องน้ำ โดยไม่ต้องถอดอุปกรณ์ใดๆ โดยผลการบันทึกสัญญาณการนอนหลับของท่าน จะถูกอ่านและวิเคราะห์ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนกรนโดยเฉพาะ (Sleep Doctor) การตรวจแบบนี้มีราคาถูกกว่าการตรวจในโรงพยาบาล และผู้ป่วยมักนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากได้นอนในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ทำให้ผลที่ได้มีความใกล้เคียงกับการนอนโดยธรรมชาติของท่านมากที่สุด


Sleep test ระดับ 2 นั้น เป้นการตรวจที่วัดสัญญาณการนอนมากกว่า 7 สัญญานขึ้นไป เหมือนกับการตรวจการนอนหลับที่ทำในโรงพยาบาลหรือศูนย์การนอนหลับ โดยในช่วงหัวค่ำ จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดเครื่องวัดสัญญาณถึงบ้านของผู้รับการตรวจ และมาถอดอุปกรณ์เพื่อนำไปดาวน์โหลดข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน ถ้าผู้ป่วยที่ไม่พร้อมเคลื่อนย้าย การตรวจแบบนี้จะเหมาะมาก หรือ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมากแต่ไม่สามารถรอคิวตรวจในโรงพยาบาลได้ ซึ่งอาจมีอันตราย จากการหยุดหายใจตอนหลับ ในช่วงที่รอการตรวจ ซึ่งมีบริการไม่เพียงพอในโรงพยาบาล และคิวรอนาน


การตรวจชนิดนี้ มีข้อดีเหนือกว่าการตรวจในโรงพยาบาล คือ ผู้ที่รับการตรวจจะได้นอนในบ้านของตนเอง จึงรู้สึกมีความเป็นส่วนตัว และผ่อนคลายได้มากกว่า ถึงกระนั้น ก็มีโอกาสเกิดสัญญาณหลุดระหว่างการตรวจได้ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้า ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจเจอปัญหาเหล่านี้ไม่มาก เพราะในปัจจุบัน เทคนิคการติดตั้งอุปกรณ์การตรวจ ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมทั้ง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อ่านและแปลผลการตรวจให้




3.2) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 3 Level 3


หรือเรียกว่า Respiratory Polygraphy หรือ Cardiopulmonary Monitoring ได้ โดยจะตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับได้ 4-7 ช่องสัญญาณ โดยเน้นพิเศษเฉพาะการหายใจและระบบหัวใจ กล่าวคือ จะมีการตรวจ ใกล้เคียงกับการตรวจในโรงพยาบาล แต่ไม่มีการตรวจคลื่นสมอง การขยับลูกตาและกล้ามเนื้อคาง จึงบอกไม่ได้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะการนอนหลับ หรือตื่นมากน้อยเพียงใด ข้อดีของการตรวจระดับ 3 นี้ ก็คล้ายกับการตรวจนอกสถานที่แบบอื่นๆ คือ ราคาถูกกว่า สะดวก รวดเร็ว จึงทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้สนิทมากกว่า


การตรวจระดับ 3 นี้จะเหมาะกับการใช้ในการคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนอนกรนขั้นรุนแรง โดยมีระดับความรุนแรงตั้งแต่ mild - severe แต่ไม่สามารถได้รับการตรวจแบบมาตรฐานในโรงพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังอาจใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษา หลังการใช้ครื่องมือในช่องปาก หรือหลังการผ่าตัดได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบนี้ อาจมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องสัญญาณได้


ดังนั้นผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แต่ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจด้วยวิธีนี้ หรือผู้ที่มีโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, น้ำหนักเกินเกณฑ์มารตรฐาน, COPD, หรือ โรคระบบประสาทกล้ามเนื้อ และผู้ที่มีโรคที่เกิดจากการนอนอื่นๆ เช่น ตอนนอนมีอาการขากระตุก, หรือ โรคลมหลับ แพทย์อาจให้ตรวจแบบมาตรฐานระดับที่ 1 แทน นอกจากนี้ ผลการตรวจควรได้รับการวิเคราะห์โดยแพทย์ด้านการนอนหลับโดยเฉพาะเช่นกัน




3.3) การตรวจการนอนหลับนอกสถานที่ ระดับ 4 (Level 4)


เป็นการตรวจวัดสัญญาณการนอนหลับ 1-3 สัญญาณ โดยหลักๆ จะประกอบไปด้วย การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ร่วมกับการวัดระดับการหายใจ อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่วัดได้จะน้อยกว่าการตรวจแบบอื่น จึงมีข้อจำกัดมากกว่า และได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน


นอกจากวิธีที่กล่าวมานี้ ยังมีการทดสอบแบบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ดี แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียต่างๆ กันไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ด้านการนอนหลับก่อน เพื่อตรวจประเมินและพิจารณาว่า เหมาะสมกับการตรวจแบบไหนต่อไป